วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตลาดน้ำอัมพวา

ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำยามเย็น, สมุทรสงคราม




ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม     เป็นตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้) ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์  ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 15.00 - 21.00 น. ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่างๆ  และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบาย ๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทานและเช่าเรือไปเที่ยวชมดูหิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ ค่าบริการคนละ 60 - 80 บาท ข้อมูลอื่นๆคลิก อัมพวา
 


ตลาดน้ำอัมพวา การเดินทาง:ทางรถยนต 
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ เดิม) ไปถึงหลัก กม.ที่ 63 ชิดซ้ายใช้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา -เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟ เลี้ยวขวาถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไปประมาณ 6 กม. ถึงสามแยกอัมพวาชิดซ้ายเข้าอัมพวา วิ่งตรงผ่านตลาดอัมพวา ข้ามสะพานคลองอัมพวา(สะพานเดชาดิศร) ซุ้มประตูวัดทางเข้าอยู่ซ้ายมือ


รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้
- รถสาย 76 กทม.-ดำเนินสะดวก เป็นรถปรับอากาศผ่านจังหวัดจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา เดินผ่านตลาด ข้ามคลองอัมพวา ตรงไปถึงวัด
- สาย 967 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ผ่านหน้าวัด

ตลาดน้ำท่าคา

                                                                    ตลาดน้ำท่าคา

สิ่งหนึ่งที่คู่มากับจังหวัดสมุทรสงคราม ก็คือแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่ ซึ่งมีอยู่มากมาย ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านผูกพันกับแม่น้ำลำคลองเรื่อยมา ทั้งการสัญจรไปมาหาสู่กัน การประกอบอาชีพต่าง ๆ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และสิ่งหนึ่งที่สะท้อนภาพชุมชนริมน้ำได้ชัดเจน คือ ตลาดน้ำ ที่มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ในสมัยนั้นชาวบ้านจากสมุทรสงครามจะพายเรือนำพืชผัก ผลไม้ กุ้ง หอย ปู ปลา กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ปลาเค็ม ล่องเข้าไปขายต่อเนื่องถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ก่อนที่ตลาดน้ำจะค่อยๆ ลดน้อยลงไปราว 60 ปีที่แล้วเมื่อการสัญจรทางบกสะดวกขึ้น ภาพความคึกคักจอแจของผู้คนและเรือบรรทุกพืชผล สินค้า แน่นขนัดในลำคลอง เสียงเจรจาซื้อขาย พูดคุยทักทายกันทั่วท้องน้ำ นับวันจะหาดูได้ยากยิ่ง แต่ความมีชีวิตชีวาเหล่านี้ยังคงมีอยู่ที่ "ตลาดน้ำท่าคา"



 


ตลาดน้ำจะมีในวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันขึ้นหรือวันข้างแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำ ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00- 12.00 น
บริเวณตลาดน้ำท่าคาบรรยากาศสองฝั่งน้ำร่มรื่นด้วยสวนมะพร้าวและสวนผลไม้ ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือออกมาจากสวน บ้างก็มาจากละแวกใกล้เคียงบรรทุกผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ ล่องมาขาย สินค้าที่หลากหลายเหล่านี้เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวในท้องถิ่น สภาพภูมิประเทศ พืชพันธุ์ ผลผลิต วิถีชีวิตผู้คน ตลาดน้ำจึงเป็นตัวเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันไว้ด้วยกัน เป็นศูนย์กลางการพบปะของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวจากภายนอก บริเวณที่ติดตลาดมีทางเดินปูนริมน้ำและสะพานข้ามคลอง ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมตลาดน้ำได้อย่างทั่วถึง




บริเวณด้านหน้าทางเข้าตลาดน้ำมีศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตลาดน้ำท่าคา มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชนจำหน่าย มีการสาธิตการเคี่ยวตาล หยอดตาล และบริการพาล่องเรือเที่ยวสวน





ตลาดน้ำสามชุก ตลาดร้อยปี

                                                                         

                                                                          ตลาดสามชุก




ตลาดสามชุก 
เป็นตลาดเก่าแก่ได้รับการประกาศให้เป็นตลาด 100 ปี ในเชิงอนุรักษ์ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือเส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การ เดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้า ขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัด ภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาว นาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่    จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนา ตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้น มา อีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นเครื่องมือการพัฒนาอาคารไม้เก่าแก่ ในตลาดสามชุก ที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำ ท่าจีน เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของตลาดจีนโบราณ เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน



สิ่งที่น่าสนใจในตลาดสามชุก


เสน่ห์ของการเยี่ยมชมตลาดสามชุก คือการได้เดินชมความคลาสิคและความเก่าแก่ของ บ้านไม้อายุนับร้อยปี แต่แบบห้องแถวซึ่งมีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น รวมทั้งรับประทานอาหารอร่อยๆซึ่งมีให้ชิมตลอดทาง ตลาดสามชุก จะมีซอยเล็กเริ่มตั้งแต่สามชุกซอย 1 – ซอย 4  ซึ่งแต่ละซอยก็จะอยู่ติดกันใช้ โดยในแต่ละซอยก็จะมีร้านค้าที่น่าสนใจแตกต่างกัน

ร้านและบ้านเก่าที่น่าสนใจของตลาดสามชุก
ซอย 2 ถือได้ว่าเป็นซอยที่ค่อนข้างคึกคักได้รับความสนใจของนักท่องเที่ยวในการถ่ายรูปมากที่สุด เนื่องจากเป็น มีบ้านไม้เก่าแก่และร้านค้าขายของเล่นและที่ระลึกตกแต่งแบบแนวมากมาย ร้านค้าชื่อดังในซอยนี้ ได้แก่
  • พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ นายภาษีอากรคนแรก และเจ้าของตลาดสามชุก เป็นบ้านไม้ขนาด 3 ชั้น มีการสร้างอย่างประณีตงดงาม แกะสลักไม้ด้วยลวดลายที่อ่อนช้อย ภายในมีรูปภาพเก่าๆ ที่บอกเล่าถึงความเป็น มาของชุมชนสามชุก รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน เมื่อครั้งยังมีชีวิตให้ชมอีกด้วย
  • โรงแรมอุดมโชค โรงแรมเก่าแก่แห่งตลาดสามชุก ลักษณะเป็น อาคารไม้สองชั้น กั้นห้องออกเป็น 12 ห้อง เปิดใช้อยู่ 6 ห้อง เนื่องจากบางห้องไม่มีห้องน้ำในตัว ปัจจุบัน โรงแรมแห่งนี้ ไม่ได้เปิดบริการแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นร้านกาแฟ มีงานศิลปะ ให้ชมกัน
  • ร้านบ้านโค้ก ที่รวบรวมของสะสมและของที่ระลึกทุกอย่างที่เกี่ยวกับโค๊ก เสียค่าเข้าชมคนละ 5 บาท
  • ร้านโก๋เก๋  ร้านนี้ขายของที่ระลึก เสื้อ หมวก และของน่ารักต่างๆ โดยเน้นของที่เกี่ยวกับโก๋เก๋ และพวกการตูน ดังๆเช่น อาราเล่
  • ร้านมหาสนุก เป็นร้านขายของเล่นโบราณที่มีให้เลือกมากมาย

 

การเดินทางพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร


1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไป ตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก
2.รถโดยสารประจำทาง
มีรถปรับอากาศจาก สายใต้และหมอชิต สาย กรุงเทพ-สุพรรณ-ท่าช้างบอกลงสามชุก แล้วเดินข้ามสะพานประมาณ 100 เมตร 
3. โดยรถตู้โดยสาร
มีรถตู้ไปสามชุก คิวรถอยู่ตรงข้ามกองสลาก รถวิ่งไปถึงหน้าตลาดสามชุกเลยค่ารถ คนละ 120 บาท 

แผนที่ตลาดสามชุก

แผนที่ตลาดสามชุก