ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                     เมืองประมง   ดงโรงงาน  ลานเกษตร   เขตประวัติศาตร์


  สมุทรสาคร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “มหาชัย” เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนปากน้ำท่าจีน ห่างจากทะเลเพียง 2 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางชลมารคกำเนิดเป็นเรื่องราวของพันท้าย นรสิงห์ผู้จงรักภักดี

     จังหวัดนี้เดิมเรียกว่า ”ท่าจีน” เพราะแต่เดิมเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทยมีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำ สำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมากจึงเรียกติดปากกลายเป็นตำบล ”ท่าจีน” ต่อมาในปี พ.ศ. 2091 ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง ด้วยมีพระราชประสงค์จะใช้เป็นที่ระดมพลสำหรับสู้รบกับพม่า บ้านท่าจีนจึงยกฐานะเป็นเมือง “สาครบุรี” เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานทางทะเลตั้งแต่นั้นมาจน ถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมือง สาครบุรีเป็นเมืองสมุทรสาคร

     ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเมื่อปี พ.ศ. 2449

     ต่อมา พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการ เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่ง เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนชอบเรียกกันนั้นเป็นชื่อของคลองที่ขุดขึ้นที่ตัดความคดเคี้ยวของคลอง โคกขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์

     จังหวัดสมุทรสาครมีเนื้อที่ประมาณ 872 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 3 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว




   
อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับกรุงเทพฯ และจังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดราชบุรี


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร โทร. 0 3441 2992, 0 3481 0123
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3441 2533, 0 3442 9271-4
โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร โทร. 0 3442 7099
สถานีขนส่ง จ.สมุทรสาคร โทร. 0 3441 1046
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155



รถยนต์

การเดินทางจากกรุงเทพฯ สามารถไปได้หลายเส้นทาง ดังนี้

1. จากแยกบางปะแก้ว ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 ถนนธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระรามที่ 2) ผ่านที่ทำการเขตบางขุนเทียน ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย ถึงสี่แยกมหาชัย ประมาณกิโลเมตรที่ 28 เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง 29 กิโลเมตร

2. จากศูนย์การค้าดาวคะนองไปตามถนนเอกชัย ผ่านสะพานบางขุนเทียน วัดสิงห์ แยกบางบอน โรงเรียนศึกษานารี วัดโพธิ์แจ้ ตำบลคอกกระบือ ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เคหะชุมชนมหาชัยเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง 30 กิโลเมตร

3. จากสี่แยกท่าพระไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษมถึงหนองแขมเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเพชรเกษม 81 ถึงแยกถนนเอกชัยเลี้ยวขวาไปตามถนนเอกชัยผ่านโรงเรียนศึกษานารี ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง 30 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม เลยบางแคแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวงแหวนรอบนอกจะไปตัดกับถนนเอกชัย วกรถกลับเข้าถนนเอกชัย หรือตรงไปเข้าถนนธนบุรี-ปากท่อก็ได้ หรือจากถนนเพชรเกษมผ่านอ้อมน้อย แยกเข้าถนนเศรษฐกิจ 1 บริเวณกิโลเมตรที่ 25 ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนได้อีกเส้นทางหนึ่ง

4. จากสะพานพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนบรมราชชนนี ตัดเข้าถนนเพชรเกษมได้ 3 ทาง คือ ถนนพุทธมณฑลสาย 2 พุทธมณฑลสาย 4 และพุทธมณฑลสาย 5 จากนั้นเลือกเข้าตัวเมืองสมุทรสาครได้ 2 ทาง คือ จากพุทธมณฑลสาย 2 ออกถนนเอกชัย เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนศึกษานารี ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร หรือใช้พุทธมณฑลสาย 4 และพุทธมณฑลสาย 5 เข้าถนนเศรษฐกิจ 1 ที่แยกอ้อมน้อย ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งตัดผ่านถนนเอกชัยและถนนธนบุรี-ปากท่อได้อีกด้วย

รถไฟ
การรถไฟมี บริการรถไฟออกจากสถานีวงเวียนใหญ่ทุกวันๆ ละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 05.30-20.10 น. ไปสุดปลายทางสถานีรถไฟมหาชัยหรือข้ามเรือไปฝั่งสถานีรถไฟบ้านแหลมก็จะสามารถ นั่งรถไฟต่อไปถึงสถานีรถไฟแม่กลองจังหวัดสมุทรสงคราม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ โทร. 0 2465 2017, 0 2890 6260 และสถานีรถไฟมหาชัย โทร. 0 3441 1003 หรือ www.railway.co.th


รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดสมุทรสาครทุกวัน ตั้งแต่เวลา 04.20-21.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.สมุทรสาคร
การเดินทางจากอำเภอเมือง สมุทรสาครไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอกระทุ่มแบน    10 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแพ้ว    15 กิโลเมตร





สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

อุทยานการเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์

อุทยานการเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์  ตั้งอยู่ในโรงเรียนพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตผู้คน และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสาคร บนพื้นที่ 7 ไร่ ภายในประกอบด้วย  อาคารพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการตั้งถิ่นฐานของ จังหวัดสมุทรสาคร สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ บุคคลสำคัญของจังหวัด ตลอดจนมรดกธรรมชาติป่าชายเลน เป็นต้น   ด้านนอกอาคารมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน จัดเป็นห้องเรียนศึกษาธรรมชาติกลางแจ้ง ให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน สัตว์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม ปูก้ามดาบ ปลาตีน หอยพิม หอยแครง ฯลฯ และยังมี สถานีโครงกระดูกปลาวาฬ ซึ่งขุดพบบริเวณบ่อกุ้งเก่าของนายประสิทธิ์ เจริญชนม์ บริเวณหมู่ 8 ตำบลโคกขาม และได้ขอนำมาเก็บไว้ศึกษาเรียนรู้ที่โรงเรียน  นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ และการใช้ไม้ไผ่ตงปักชายฝั่งเพื่อใช้ชลอคลื่นสร้างแผ่นดิน ผู้สนใจเข้าชมหรือร่วมทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียด โทร. 08 1555 1653 (อาจารย์ประสาน), 08 9491 6011 (คุณนรินทร์), 
08 1443 6425 (คุณวรพล) หรือ www.phanthai.ac.th


ป้อมวิเชียรโชฎก

ตั้งอยู่ตำบลมหาชัย ห่างจากศาลากลางจังหวัด 200 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2371 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ เนื่องจากในสมัยนั้นได้เกิดกรณีพิพาทกับญวณเรื่องเจ้าอนุวงศ์เมือง เวียงจันทน์ รัชกาลที่ 3 ทรงเกรงว่าญวณจะยกกำลังมารุกรานไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่กองสร้างป้อมเพื่อรักษาปากน้ำท่าจีนที่เมืองสมุทรสาคร และพระราชทานนามว่า “ป้อมวิเชียรโชฎก” ลักษณะของป้อมก่อด้วยอิฐถือปูน ไม่มีป้อมยามมีแต่หอรบ ตามช่องของกำแพงมีปืนใหญ่ไว้สำหรับป้องกันข้าศึกที่มาทางปากน้ำ


ตลาดสดมหาชัย

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกและศาลหลักเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 200 เมตร เป็นตลาดที่รวมอาหารทะเลสดและแห้ง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการค้าการคมนาคมของสมุทรสาคร เนื่องจากการคมนาคมสัญจรมาสู่ตลาดมหาชัย เชื่อมโยงหลายเส้นทางเข้าด้วยกัน ทั้ง เส้นทางรถยนต์ที่มาสุดตรงท่าเรือเทศบาล ซึ่งมีเรือเมล์ไปสู่ตำบลต่าง ๆ หลายแห่ง แล้วยังสามารถเช่าเรือหางยาวไปเที่ยวคลองโคกขามได้ มีทั้งเช่าเหมาลำและเรือประจำทาง และยังมีขขบวนรถไฟจากสถานีวงเวียนใหญ่มายังมหาชัยวันละหลายเที่ยว


วัดสุทธิวาตวราราม หรือ วัดช่องลม

ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ 3 กิโลเมตร วัดช่องลมเป็นพระอารามหลวงได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนั้นประกอบด้วย
    
พระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ประดิษฐานอยู่ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินท่าฉลอม และทรงตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย หลวงพ่อหินแดง  11 นิ้วพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยศิลาแดงทั้งองค์  มีลักษณะพิเศษคือพระหัตถ์ข้างซ้ายมี 6 นิ้วจึงเรียกว่า พระ 11 นิ้ว หลวงปู่แก้ว  อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลมเมื่อท่านมรณภาพไปแล้วผู้ศรัทธาทั้งหลายได้นำสังขาร ของท่านไว้ในโลงทองอย่างสวยงามพร้อมทั้งหล่อรูปเหมือนของท่านในท่านั่งสมาธิ ประดิษฐานไว้ภายในวิหาร ชมชีวิตนกนางแอ่น  จำนวนนับพันมาอาศัยทำรังตามผนังโบสถ์ด้านหลัง  จนปรากฎลวดลายจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม
   
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามได้บริเวณท่าน้ำหน้าวัด  ทั้งยังมีร้านอาหารไว้คอยบริการและเนื่องจากวัดนี้  ตั้งอยู่ปากอ่าว  จึงมี เรือประมงมารอให้บริการเช่าออกไปลอยอังคารด้วย


วัดนางสาว

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3091 ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดนางสาว 2 ประมาณ 1 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของวัดมีเรื่องเล่ากันว่า เมืองสาครบุรี คือ เมืองชายทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในพม่าชาวไทยกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีมาตามริมแม่น้ำท่าจีน คนชราและผู้หญิงได้พากันไปหลบซ่อนในโบสถ์เก่า ต่อมาคนไทยได้ช่วยกันต่อสู้กับทหารพม่าจนได้รับชัยชนะ และผู้ที่อพยพมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ในกลุ่มนี้มีสองพี่น้องที่เคยอาศัยโบสถ์หลบหนีภัย ทั้งสองมีความคิดที่จะบูรณะโบสถ์ใหม่ แต่พี่สาวเห็นว่าโบสถ์ทรุดโทรมมากจึงไปสร้างวัดใหม่แทน น้องสาวต้องการทำตามสัจจาธิษฐานของตนว่าถ้ารอดตายจะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ จึงดำเนินการบูรณะจนเสร็จและตั้งชื่อว่า "วัดพรหมจารีย์" ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "วัดน้องสาว" จนปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น "วัดนางสาว" โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ คือ โบสถ์ที่มีฐานโค้งเป็นรูปเรือสำเภาก่ออิฐ มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียวชาวบ้านเรียกว่า "โบสถ์มหาอุด" หลังคามุงกระเบื้องดินเผาแบบเก่า ขื่อข้างบนใช้ไม้ซุงทั้งต้น มีเสมาคู่เป็นหินทรายขนาดเล็กอยู่รอบๆ โบสถ์ นอกจากนี้บริเวณหน้าวัดซึ่งติดกับแม่น้ำท่าจีน ยังมีอุทยานมัจฉาประกอบด้วยฝูงปลาสวายจำนวนมากอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารแก่ฝูงปลาและเที่ยวชมอยู่เสมอ

ร้านและแหล่งจำหน่ายของที่ระลึก
   

น้องตอง (เบญจรงค์)
ที่อยู่ : ถนนเศรษฐกิจ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

หนูเล็กเบญจรงค์
จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเซรามิก เช่น กาน้ำชา แก้วน้ำ
ที่อยู่ : 34 หมู่ 1 ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 0 3484 3371, 08 1995 9196


แดงเบญจรงค์
เปิดเวลา 08.00-20.00 น.
ที่อยู่ : 146 หมู่ 1 ซอยเทศบาล 5 ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 0 3447 3471, 0 3447 3551

อุไร เบญจรงค์
ที่อยู่ : 32 หมู่ 1 ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 0 3447 3408


นรินทร์ เบญจรงค์
ที่อยู่ : 27 หมู่ 4 บ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 08 9531 2590


ศรีวรรณ เบญจรงค์
ที่อยู่ : 35/1 หมู่ 3 บ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 08 9065 7273


วันเพ็ญ
ที่อยู่ : 50/1 หมู่ 1 บ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 08 9494 5133

หมู่บ้านเบญจรงค์บ้านดอนไก่ดี
ที่อยู่ : อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ : 0 3447 3408
ไหว้เจ้า 9 ศาล จังหวัดสมุทรสาคร

จังหวัดสมุทรสาครประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติอาศัยปะปนกันอยู่ จะสังเกตได้จากพิธีกรรมในแต่ละความเชื่อที่แตกต่างกันไป ศาลเจ้ามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากพี่น้องชาวจีนมีความยึดมั่นในความเชื่อดั้งเดิม ดังนั้นศาลเจ้าจึงเป็นศูนย์รวมของชาวจีนจากสถานที่ต่างๆ ในการประกอบพิธีกรรมปีหนึ่งๆศาลเจ้าจะมีการจัดงานหลายครั้งแตกต่างกันออกไป สาเหตุของการสร้างศาลเจ้าแต่ละแห่งนั้นสรุปได้ดังนี้
1. สร้างเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ
2. สร้างตามความเชื่อและประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณ
3. สร้างเพื่อเป็นศาลเจ้าประจำตระกูล
4. สร้างตามความนิยม
5. สร้างเพื่อแก้บน
6. สร้างเพื่อการค้า
7. สร้างด้วยความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์   
 
และหนึ่งในพิธีกรรมของชาวจีนคือเทศกาลถือศีลกินเจ ในช่วงเดือน 9 ถือเทศกาลแห่งความบริสุทธิ์ระยะเวลา 9 วัน 9 คืน ที่ชาวจีนรักษาศีลด้วยการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ละเว้นการฆ่าสัตว์ และรักษาศีล ทางเทศบาลนครสมุทรสาครจัดกิจกรรมไหว้เจ้า 9 ศาล ในช่วงเทศกาลกินเจ โดยยึดหลักการไหว้เจ้า 9 ศาล ที่เกี่ยวข้องความเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขแห่งมงคล และทั้ง 9 ศาลคือ

1. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครต.มหาชัย อ.เมืองฯ
เจ้าพ่อหลักเมือง เป็นแผ่นไม้รูปเจว็ด  ขนาดสูงประมาณ 1 เมตร  เรียกว่าเทพเจ้าจอมเมือง  เป็นรูปเทวดาหัตถ์ขวายกประทานพร หัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์  มีกุมารน้อย 2 คน  เป็นบริวารอยู่ด้านข้าง  มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า  แผ่นไม้สลักนี้ลอยน้ำผ่านคลองมหาชัย ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นสักการะสร้างเป็นศาลเล็กๆ ไว้ที่ป้อมวิเชียรโชฏกเรียกศาลเทพเจ้าจอมเมือง ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาสร้างอาคารทรงไทยใน พ.ศ. 2460  แต่อาคารนี้ถูกรื้อหลังการก่อสร้างศาลหลักเมืองใน พ.ศ. 2525  เชิญเจ้าพ่อหลักเมืองไปประดิษฐานบนด้านเหนือศาลหลักเมือง  แต่มีการประทับทรงเจ้าพ่อวิเชียรโชติ  จึงสร้างอาคารใหม่เป็นศิลปกรรมจีนสวยงามมาก  เป็นที่นับถือกราบไหว้ของชาวไทย ชาวจีน  โดยเฉพาะชาวประมงมักขอพรบนบานขอให้ทำกิจการปลอดภัยและร่ำรวย  จะมีการแก้บนด้วยฝิ่นเสมอ  โดยนำมาป้ายที่บริเวณปาก ส่วนศาลหลักเมืองอยู่ถัดออกไป เป็นหลักเมืองที่สร้างขึ้นใหม่

2. โรงเจมูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร
เดิมทีพื้นที่ของโรงเจมูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร เป็นโรงเรียนจีน พอมาในยุคสมัยที่รัฐบาลไทยมีกฎหมายบังคับให้โรงเรียนทุกแห่งเปิดสอนได้เพียง ภาษาไทยเท่านั้น โรงเรียนจีนแห่งนี้ได้ปิดตัวลง และพื้นที่นี้ได้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง ดังนั้นจึงได้มีการจัดสร้างสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นโรงเจ โดยเงินที่นำมาทำการจัดสร้างนั้นมาจากการบริจาคการล้างป่าช้า ดังนั้นจึงได้จัดตั้งโรงเจขึ้น โดยใช้ชื่อว่าโรงเจมูลนิธิการกุศลสมุทรสาคร และทุกปีเมื่อถึงเทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนในฝั่งมหาชัยก็จะมาร่วมปฏิบัติธรรมในเทศกาลกินเจ ณ โรงเจแห่งนี้

3. ศาลเจ้าปุนเถ้ากง (คลองมหาชัย)
ศาลเจ้าปุนเถ้ากง คลองมหาชัย ได้มีการจัดสร้างขึ้นมาเป็นระยะเวลานับร้อยปี สมัยก่อนสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวประมงและชุมชนในพื้นที่ เสริมสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยสร้างเป็นศาลไม้เล็กๆ และภายหลังได้มีการบูรณะศาลใหม่ โดยก่ออิฐถือปูนมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว และศาลเจ้าปุนเถ้ากงแห่งนี้มีการจัดงานเฉลิมฉลองศาลเจ้าปีละ 3 ครั้ง โดยมีในเดือนกุมภาพันธ์ สิงหาคม และพฤศจิกายนของทุกปี

4. ศาลเจ้าแม่กวนอิมพันมือคลองจาก
ศาลแห่งนี้สร้างมานานกว่า 20 ปี ในอดีตเป็นศาลเจ้าสร้างด้วยไม้หลังเล็กๆ ธรรมดาที่ปลูกสร้างเพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นได้ เคารพสักการบูชา แต่เมื่อประมาณ พ.ศ.2548 ได้มีการจัดสร้างศาลเจ้าใหม่ขึ้น เนื่องจากศาลเก่าเกิดการชำรุดเสียหาย จึงได้มีการบูรณะจัดสร้างศาลใหม่ขึ้นและให้มีการอัญเชิญรูปหล่อเจ้าแม่กวน อิมพันมือมาประดิษฐานภายในศาลเจ้า และการออกแบบก่อสร้างนั้น ทางคณะผู้จัดสร้างได้ออกแบบให้ศาลดังกล่าวมีพื้นศาลเปรียบได้กับสวรรค์9 ชั้น หากผู้ใดได้ก้าวเข้ามาสักการะภายในศาลถือว่าได้มาถึงสวรรค์ชั้นที่ 9

5. ศาลเจ้าแม่จุ๋ยบ๋วยเนี้ย
ศาลเจ้าแม่จุ๋ยบ๋วยเนี้ย หรือศาลเจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่ต.ท่าฉลอม ไม่ปรากฏว่าก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใด แต่มีผู้ศรัทธาสักการะศาลเจ้าแห่งนี้เป็นจำนวนมาก และหนึ่งพิธีกรรมของศาลเจ้าแห่งนี้คือพิธีลุยไฟ ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จะทำเฉพาะร่างทรงทำนายทายทักว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น และผู้ที่ให้ความเคารพสักการะศาลเจ้าแห่งนี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวประมงและ ชาวไทยเชื้อสายจีน

6. โรงเจเชียงเฮียงตั้ว
ศาลเจ้าแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาคือ ชาวจีนที่อพยพมาอยู่ที่ท่าฉลอมมีค่อนข้างมากเพราะเป็นเมืองที่อยู่ติดแม่น้ำ เป็นเมืองแรกๆ ที่สามารถขึ้นฝั่งเพื่อเข้าสู่ประเทศสยามเมื่อมีชาวจีนมาตั้งรกรากกันมาก ขึ้นก็เกิดการรวมตัวกันเพื่อสร้างศาลเจ้า คงเหมือนกับคนไทยที่สร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมเป็นที่พบปะสังสรรค์ สำหรับศาลเจ้าโรงเจก็กลายเป็นที่ถือศีลของชาวจีนไปด้วย ส่วนการก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ.ใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบเพียงว่าแต่ก่อนก็เป็นแค่เพิงหลังคาจากเล็กๆเท่านั้น แต่เมื่อชาวบ้านเริ่มมีธุรกิจมั่นคงขึ้น เขาก็นำเงินมาบริจาคเพื่อปรับปรุงศาลให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นศาลเจ้าโรงเจอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

7. ศาลเจ้ากวนอู
มีการก่อสร้างมานานนับร้อยปีแล้ว ในอดีตศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวจีนในต.ท่าฉลอมที่มีความเคารพ สักการะเทพเจ้ากวนอูที่มีความซื่อสัตย์ได้บูชากัน โดยจัดสร้างเป็นศาลไม้หลังเล็กๆ มุงหลังด้วยจากและภายหลังได้บูรณะใหม่ใช้กระเบื้องในการมุงหลังคา จากนั้นได้มีซ่อมแซมครั้งใหญ่โดยการสร้างแบบก่ออิฐถือปูนเพื่อความแข็งแรงทน ทาน โดยปกติผู้คนจะเข้ามากราบไหว้อยู่เป็นประจำไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นช่วงใด

8. ศาลเจ้าปุนเถ้ากง (ท่าฉลอม)
ศาลแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2382 เดิมทีเป็นศาลไม้ ฝ้าไม้กระดาน หลังคามุงจาก จากนั้นเมื่อปี พ.ศ.2456 ได้มีการบูรณะศาลใหม่ โดยใช้เสาไม้ ขื่อแปเป็นไม้ระแนง ไม้สักทอง มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง ผนังก่ออิฐถือปูน โดยวัตถุประสงค์หลักในการก่อสร้างนั้นเพื่อเป็นที่สักการะแก่ชาวจีนและชาว ไทยเชื้อสายจีนที่พำนักอาศัยอยู่ในต.ท่าฉลอม

9. สวน พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่าฉลอม
รูปหล่อพระโพธิสัตว์กวนอิมปางเมตตา หล่อจากทองเหลืองปิดด้วยทองคำเปลวขนาดใหญ่ เป็นงานที่สวยงาม ตั้งอยู่ด้านหลังวัดสุทธิวาตวราราม  สร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครองราชย์ครบ 50 ปี  ใน พ.ศ.2539  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ องค์เจ้าแม่กวนอิมสูง 9.98 เมตร  หล่อด้วยโลหะแล้วทาสีสวยงามมาก  พระหัตถ์ขวาเทน้ำจากคนโทเป็นน้ำมนต์  ประทับบนฐานดอกบัวมีมังกรโอบโดยรอบอยู่บนภูเขาจำลองสูง 8 เมตร  มีถ้ำอยู่ภายในมีรูปเคารพมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น